วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

LG เปิดตัวทีวี 3D ขนาด 55" ระบบ THX


LG 3D LED 55LW4500สัมผัสประสบการณ์ใหม่กับทีวี 3 มิติที่เหนือกว่า

LG 55LW4500 LED TV

    55" CINEMA 3D, 1080p, 120/100 Hz, LED Plus TV

    LG CINEMA 3D ทีวี 3 มิติ ใช้เทคโนโลยีการกำเนิดภาพ 3 มิติแบบล่าสุด Flim Patterned Retarder (FPR) ที่ได้รับการรับรองจากสถาบัน TUV ว่าภาพไม่กะพริบ ดูแล้วสบายตา และได้รับการรับรองจาก Intertek ว่าแสดงภาพ 3 มิติแบบ 1,080p คุณสนุกกับภาพยนตร์ 3 มิติแบบ Full HD 1,080p ได้อย่างเต็มอรรถรส LG CINEMA 3D เปลี่ยนคอนเทนต์ 2 มิติ เป็น 3 มิติได้ทันที แว่นตา 3 มิติไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ไม่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ฝังอยู่ในตัวแว่น จึงไม่ต้องกังวลถึงอันตรายใดๆ มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย หน้าจอสว่างกว่าทีวี 3 มิติแบบทั่วไป 2 เท่า มุมมองในการรับชมLG CINEMA 3D ในแนวกว้างกว้างถึง 178 องศา และมีตำแหน่งในการรับชมที่ยืดหยุ่น คุณจึงนั่งเอนหลังหรือตะแคงศีรษะดูได้ โดยคุณภาพของภาพยังยอดเยี่ยมเหมือนเดิม LG CINEMA 3D นวัตกรรมล่าสุดของทีวี 3 มิติ จาก LG 

    เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่





    ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ 
    ซอฟท์แวร์ / คอมพิวเตอร์สำหรับงานก่อสร้าง
    ปัจจัยหลักที่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ อสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น เนื่องจากมีปริมาณเม็ดเงินจำนวนมาก และอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นสินค้า (Product) ที่จะให้อสังหาริมทรัพย์นำไปขาย และหากมีการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้พบว่า หากมีการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว จะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้นได้ทั้งระบบอย่างยั่งยืนและถาวร
    และความจริงยังกลับพบว่าปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้างทั่วโลกและในประเทศไทยนั้น มีอยู่ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณเม็ดเงินในระบบอุตสาหกรรมนี้ อันเนื่องมาจากความรู้ด้านการก่อสร้างนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีลักษณะการทำงานที่ผันแปรไปตามปัจจัยต่างๆของโครงการ อันเนื่องมาจาก สภาพภูมิประเทศ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น รสนิยมของผู้อยู่อาศัย วัสดุ วิชาชีพหลายมิติ เช่น สถาปนิก วิศวกร บัญชี เป็นต้น กฎหมาย มาตรฐานการออกแบบ (Design Code) มาตรฐานการก่อสร้าง ความชำนาญของช่างและผู้ออกแบบ ซึ่งทำให้การก่อสร้างนั้นเป็นงานเฉพาะตัว (Custom Made) ในแต่ละโครงการ จึงทำให้พบว่าส่วนใหญ่การก่อสร้างในประเทศไทยยังถือว่ายังล้าหลังจากประเทศอื่นอยู่มากและหากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศไทยเองก็ยังพบว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อย หรือ แทบจะเรียกว่าส่วนใหญ่ยังคงทำงานด้วยคน (manual) หรือเป็นกระดาษกันอยู่เลย
    ซึ่งมาทำเป็นกราฟเปรียบเทียบถึงต้นทุนการทำงานด้วยคนและคอมพิวเตอร์จะทำให้เราพบว่า ต้นทุนการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์มีต้นทุนที่ลดลงทุกๆปีและต้นทุนการทำงานด้วยคนกลับมีต้นทุนที่สูงขึ้นตลอดเวลาทุกปี และปัจจุบันเราได้เลยจุดคุ้มทุนมาแล้ว หากเราไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลดต้นทุนการทำงาน จะทำให้เรามีพื้นที่การเสียเปรียบกับคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดจะทำให้เราไม่สามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ได้
    การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity) และขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในคราวเดียวกัน หากทุกคนเข้าใจหลักการนี้แล้วจะทำให้ตระหนักว่า การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานในธุรกิจก่อสร้างนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีปริมาณเม็ดเงินจำนวนมาก ทำให้สามารถประหยัดเงินได้ทันที
    หากเริ่มพูดถึงคอมพิวเตอร์ด้านก่อสร้างแล้ว ผมเองก็เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะรู้จักโปรแกรมประเภท CAD(Computer Aided Design) ที่เอาไว้ช่วยสำหรับการเขียนแบบ ซึ่งระบบ CAD ก็มีการวิวัฒนาการพอแยกได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
    ยุคแรก การเขียนแบบด้วยมือลงบนกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดมากไม่สะดวกในการปรับปรุงแบบ ซึ่งเป็นการเขียนแบบ 2 มิติ คือ เป็นรูปด้าน รูปตัด แปลนอาคาร
    - ยุคที่สอง เขียนแบบด้วยโปรแกรม CAD ซึ่งยุคนี้เริ่มได้มาประมาณ 20 ปี แล้ว และปัจจุบันการทำงานเกือบ 100 % ในการเรียน การสอน การทำงานในวงการก่อสร้างไทยยังใช้ระบบนี้อยู่ ทำให้มีปัญหาเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่นๆ เนื่องจากเป็นแค่การเขียนแบบแต่อย่างเดียว และทำให้การทำงานขาดการเชื่อมต่อไปยังระบบอื่น ทำให้โปรแกรม CAD เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับพนักงานเขียนแบบอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับผู้จัดการโครงการ เจ้าของโครงการ หรือ สถาปนิกเอง จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์เท่าที่ควร
    - ยุคที่สาม จำลองการออกแบบอาคารบนคอมพิวเตอร์ (Building Simulation) ทำให้สถาปนิกสามารถมองเห็นอาคารเสมือนจริงบนคอมพิวเตอร์ขณะออกแบบ ซึ่งทุกวัตถุ ( Object ) บนระบบคอมพิวเตอร์จะมีราคา สี คุณสมบัติวัสดุ เหมือนจริง ทำให้ทราบราคาค่าก่อสร้างทั้งอาคารได้ทุกขณะ ลดการทำงานผิดพลาดลง สามารถใช้โมเดลไปให้วิศวกรออกแบบโครงสร้าง ไฟฟ้า ประปา ได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างโมเดลใหม่ให้เสียเวลา ลดการซ้ำซ้อนทั้งระบบ สะดวกในการนำเสนองานและการแก้ไขแบบอาคาร หากมีการแก้ไขขยายขนาดห้องจาก 4.00 ม. เป็น 4.50 ม. ที่รูปใดรูปหนึ่ง จะทำให้รูปทั้งหมด ทั้งรูปแปลน รูปด้าน รูปตัด รูปขยาย จะปรับปรุงแบบให้ใหม่ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขแบบใหม่เป็นแรมเดือนอีกต่อไป
    และในยุคที่สามของ CAD นี้ ได้มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเรียกว่า IFC ( Industrial Foundation Class ) ปัจจุบันมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกได้เข้าร่วมพัฒนาและเป็นสมาชิก เช่น Graphisoft, Microsoft, Autodesk, Bentley เป็นต้น โดยการใช้เทคโนโลยี XML เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนไฟล์กัน และยังทำให้โปรแกรม CAD ออกแบบสถาปัตยกรรม ประมาณราคา วิศวกรโครงสร้าง บริหารโครงการ บริหารทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งระบบบัญชี สามารถเชื่อมโยงและคุยกันได้เป็นอย่างดี
    โดยการเชื่อมโยงรูปแบบ IFC นี้จะเป็นการเชื่อมโยงได้ทั้งแบบ (Drawing) และข้อมูลประกอบ(Attribute) จากรูปแบบเดิมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้แค่ Drawing ระหว่างโปรแกรมโดยใช้ไฟล์ DXF (Data Exchange Format) เป็นตัวกลาง
    - ไฟล์แบบก่อสร้างรุ่นใหม่สามารถเก็บรูปแบบแปลนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบเบื้องต้นจนถึงแบบก่อสร้างจริง (As- Build Drawing) ได้ในไฟล์เดียว โดยสามารถแยกแบบได้เป็นชุดๆ ซึ่งจากเดิมจะต้องเก็บไฟล์หลายสิบหลายร้อยไฟล์ ทำให้ยากในการค้นหา และเรียกใช้งานภายหลัง
    การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่รองรับระบบ IFC ทำให้ผู้ใช้งานทั้ง สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ลดการทำงานผิดพลาด สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ทั้งระบบตั้งแต่การออกแบบ ประมาณราคา การก่อสร้าง การติดตั้ง การโฆษณาประชาสัมพันธ์
    โดยตอนถัดๆไปผมจะอธิบายถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สำหรับช่วยงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม การก่อสร้าง (Construction) การบริหารโครงการ (Project Management) การบริหารอาคาร (Facilities Management) ที่ช่วยทำให้วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง ลดต้นทุน และทำงานได้รวดเร็ว

    เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่





    ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ 
    ซอฟท์แวร์ / คอมพิวเตอร์สำหรับงานก่อสร้าง
    ปัจจัยหลักที่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ อสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น เนื่องจากมีปริมาณเม็ดเงินจำนวนมาก และอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นสินค้า (Product) ที่จะให้อสังหาริมทรัพย์นำไปขาย และหากมีการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้พบว่า หากมีการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว จะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้นได้ทั้งระบบอย่างยั่งยืนและถาวร
    และความจริงยังกลับพบว่าปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้างทั่วโลกและในประเทศไทยนั้น มีอยู่ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณเม็ดเงินในระบบอุตสาหกรรมนี้ อันเนื่องมาจากความรู้ด้านการก่อสร้างนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีลักษณะการทำงานที่ผันแปรไปตามปัจจัยต่างๆของโครงการ อันเนื่องมาจาก สภาพภูมิประเทศ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น รสนิยมของผู้อยู่อาศัย วัสดุ วิชาชีพหลายมิติ เช่น สถาปนิก วิศวกร บัญชี เป็นต้น กฎหมาย มาตรฐานการออกแบบ (Design Code) มาตรฐานการก่อสร้าง ความชำนาญของช่างและผู้ออกแบบ ซึ่งทำให้การก่อสร้างนั้นเป็นงานเฉพาะตัว (Custom Made) ในแต่ละโครงการ จึงทำให้พบว่าส่วนใหญ่การก่อสร้างในประเทศไทยยังถือว่ายังล้าหลังจากประเทศอื่นอยู่มากและหากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศไทยเองก็ยังพบว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อย หรือ แทบจะเรียกว่าส่วนใหญ่ยังคงทำงานด้วยคน (manual) หรือเป็นกระดาษกันอยู่เลย
    ซึ่งมาทำเป็นกราฟเปรียบเทียบถึงต้นทุนการทำงานด้วยคนและคอมพิวเตอร์จะทำให้เราพบว่า ต้นทุนการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์มีต้นทุนที่ลดลงทุกๆปีและต้นทุนการทำงานด้วยคนกลับมีต้นทุนที่สูงขึ้นตลอดเวลาทุกปี และปัจจุบันเราได้เลยจุดคุ้มทุนมาแล้ว หากเราไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลดต้นทุนการทำงาน จะทำให้เรามีพื้นที่การเสียเปรียบกับคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดจะทำให้เราไม่สามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ได้
    การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity) และขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในคราวเดียวกัน หากทุกคนเข้าใจหลักการนี้แล้วจะทำให้ตระหนักว่า การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานในธุรกิจก่อสร้างนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีปริมาณเม็ดเงินจำนวนมาก ทำให้สามารถประหยัดเงินได้ทันที
    หากเริ่มพูดถึงคอมพิวเตอร์ด้านก่อสร้างแล้ว ผมเองก็เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะรู้จักโปรแกรมประเภท CAD(Computer Aided Design) ที่เอาไว้ช่วยสำหรับการเขียนแบบ ซึ่งระบบ CAD ก็มีการวิวัฒนาการพอแยกได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
    ยุคแรก การเขียนแบบด้วยมือลงบนกระดาษ ซึ่งมีข้อจำกัดมากไม่สะดวกในการปรับปรุงแบบ ซึ่งเป็นการเขียนแบบ 2 มิติ คือ เป็นรูปด้าน รูปตัด แปลนอาคาร
    - ยุคที่สอง เขียนแบบด้วยโปรแกรม CAD ซึ่งยุคนี้เริ่มได้มาประมาณ 20 ปี แล้ว และปัจจุบันการทำงานเกือบ 100 % ในการเรียน การสอน การทำงานในวงการก่อสร้างไทยยังใช้ระบบนี้อยู่ ทำให้มีปัญหาเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่นๆ เนื่องจากเป็นแค่การเขียนแบบแต่อย่างเดียว และทำให้การทำงานขาดการเชื่อมต่อไปยังระบบอื่น ทำให้โปรแกรม CAD เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับพนักงานเขียนแบบอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับผู้จัดการโครงการ เจ้าของโครงการ หรือ สถาปนิกเอง จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์เท่าที่ควร
    - ยุคที่สาม จำลองการออกแบบอาคารบนคอมพิวเตอร์ (Building Simulation) ทำให้สถาปนิกสามารถมองเห็นอาคารเสมือนจริงบนคอมพิวเตอร์ขณะออกแบบ ซึ่งทุกวัตถุ ( Object ) บนระบบคอมพิวเตอร์จะมีราคา สี คุณสมบัติวัสดุ เหมือนจริง ทำให้ทราบราคาค่าก่อสร้างทั้งอาคารได้ทุกขณะ ลดการทำงานผิดพลาดลง สามารถใช้โมเดลไปให้วิศวกรออกแบบโครงสร้าง ไฟฟ้า ประปา ได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างโมเดลใหม่ให้เสียเวลา ลดการซ้ำซ้อนทั้งระบบ สะดวกในการนำเสนองานและการแก้ไขแบบอาคาร หากมีการแก้ไขขยายขนาดห้องจาก 4.00 ม. เป็น 4.50 ม. ที่รูปใดรูปหนึ่ง จะทำให้รูปทั้งหมด ทั้งรูปแปลน รูปด้าน รูปตัด รูปขยาย จะปรับปรุงแบบให้ใหม่ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขแบบใหม่เป็นแรมเดือนอีกต่อไป
    และในยุคที่สามของ CAD นี้ ได้มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเรียกว่า IFC ( Industrial Foundation Class ) ปัจจุบันมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกได้เข้าร่วมพัฒนาและเป็นสมาชิก เช่น Graphisoft, Microsoft, Autodesk, Bentley เป็นต้น โดยการใช้เทคโนโลยี XML เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนไฟล์กัน และยังทำให้โปรแกรม CAD ออกแบบสถาปัตยกรรม ประมาณราคา วิศวกรโครงสร้าง บริหารโครงการ บริหารทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งระบบบัญชี สามารถเชื่อมโยงและคุยกันได้เป็นอย่างดี
    โดยการเชื่อมโยงรูปแบบ IFC นี้จะเป็นการเชื่อมโยงได้ทั้งแบบ (Drawing) และข้อมูลประกอบ(Attribute) จากรูปแบบเดิมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้แค่ Drawing ระหว่างโปรแกรมโดยใช้ไฟล์ DXF (Data Exchange Format) เป็นตัวกลาง
    - ไฟล์แบบก่อสร้างรุ่นใหม่สามารถเก็บรูปแบบแปลนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบเบื้องต้นจนถึงแบบก่อสร้างจริง (As- Build Drawing) ได้ในไฟล์เดียว โดยสามารถแยกแบบได้เป็นชุดๆ ซึ่งจากเดิมจะต้องเก็บไฟล์หลายสิบหลายร้อยไฟล์ ทำให้ยากในการค้นหา และเรียกใช้งานภายหลัง
    การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่รองรับระบบ IFC ทำให้ผู้ใช้งานทั้ง สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ลดการทำงานผิดพลาด สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ทั้งระบบตั้งแต่การออกแบบ ประมาณราคา การก่อสร้าง การติดตั้ง การโฆษณาประชาสัมพันธ์
    โดยตอนถัดๆไปผมจะอธิบายถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สำหรับช่วยงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม การก่อสร้าง (Construction) การบริหารโครงการ (Project Management) การบริหารอาคาร (Facilities Management) ที่ช่วยทำให้วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง ลดต้นทุน และทำงานได้รวดเร็ว

    iPhone 5 ไอโฟน 5




    [17-สิงหาคม-2554] ข่าวนี้ น่าจะเป็นข่าวที่ตื่นเต้นที่สุดข่าวหนึ่งก็ว่าได้ครับ เพราะแหล่งข่าวจากเว็บ electronista ได้รายงานว่าApple iPhone 5 ไอโฟน 5 (iPhone 5นั้น จะเปิดตัวในเดือนหน้านี้แล้ว ซึ่งจะเป็นเวลาเดียวกับการเปิดตัว iPod Touch รุ่นใหม่ และ iOS 5 ครับ ส่วนการเปิดรับพรีออเดอร์นั้น คาดว่าจะเป็นช่วงปลายเดือนกันยายน ซึ่งเวลาที่เหมาะสมที่สุด ก็คือ วันที่ 30 กันยายนนี้ ก่อนจะเปิดจำหน่ายจริงในวันที่ 7 ตุลาคม แต่ทางเว็บไซต์ electronista ยังเขียนโน้ตไว้ว่า อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้ ถ้าหากเกิดปัญหาในเรื่องของขั้นตอนการผลิตครับ

    อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวไม่ได้รายงานถึง ข่าวลือเรื่อง ไอโฟน (iPhone) ราคาประหยัด ที่ว่ากันว่า จะมาขายแข่งกับแอนดรอยด์โฟนรุ่นราคาถูก ซึ่งในตอนนี้ก็ยังสรุปไม่ได้ว่า จะมีจริงหรือไม่ครับ

    3G และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง


    3G

    3G และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง
     
          เมื่อก่อนเราใช้โทรศัพท์เป็นโทรศัพท์ คือใช้โทรได้อย่างเดียว นั้นเรียกว่ายุค 1G พอยุค 2G โทรศัพท์ก็สามารถถ่ายรูปได้ ส่งข้อความได้ ส่งอีเมล์ได้ แต่ยังติดขัดอยู่ในเรื่องของสัญญาณติดๆ ขัดๆ เวลาเคลื่อนไหว ส่วน 3G จริงๆ แล้วก็คือระบบโทรศัพท์ที่พัฒนาอีกขั้นหนึ่งให้มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ในเรื่องของข้อมูล เฉพาะฉะนั้นในด้านการเชื่อมต่อข้อมูลจะดีกว่า อีกทั้งยังไม่ได้คิดราคาตามเวลาการใช้ แต่จะคิดตามอัตราการโหลดข้อมูล และมีความเร็วในการใช้งานที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ในยุค 3G จึงไม่ใช่แค่เพียงโทรศัพท์อีกต่อไป 3G ทำให้การพูดคุยสามารถเห็นหน้ากันได้ หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซอฟท์แวร์ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโทรศัพท์ ก็คืออีกสักหน่อยโทรศัพท์อาจจะส่งสัญญาณให้ควบคุมสิ่งของที่บ้าน เช่น ส่งให้เปิดปิดตู้เย็น เปิดปิดหม้อหุงข้าว เป็นต้น หรือข้อมูลอะไรต่างๆ ที่มีพื้นที่การเก็บข้อมูลมากๆ 3G ก็จะให้ประโยชน์เหล่านี้นั้นเอง อย่างเช่น แผนที่เราก็สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เนตเข้ามาที่โทรศัพท์โดยผ่านระบบ3G นี้ได้เลย  

    เทคโนโลยีสารสนเทศ

    บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
    พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา













    วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    ติมคับบ๋ม

    GUI และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

    สาระสำคัญ                                                                                                                                
     
    ปัจจุบันมีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program) เข้ามาช่วยในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นจึงเกิดแนวความคิดในการใช้สัญรูป (icons) เป็นการแทนคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรมที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) มาใช้ในการสั่งให้โปรแกรมทำงาน ซึ่งการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควรจะพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้ง่ายต่อการแก้ไข และการบำรุงรักษาโปรแกรม
     
            ความหมายของ Graphical User Interface(GUI)
            รู้จักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program)
            รู้จักภาษาโปรแกรมมิ่ง (Programming Language)
            รู้จักองค์ประกอบต่าง ๆ ของโปแกรมคอมพิวเตอร์
            รู้จักขั้นตอนการพัฒนาโปรโปรแกรมคอมพิวเตอร์
            รู้จักการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
     
    อธิบายความหมายของ GUI (Graphical User Interface)
     
    ความหมาย
    ใช้ตัวย่อว่า GUI (อ่านว่า กุย) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพเช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญลักษณ์รูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งแทนดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกทีเรียกว่าระบบเมนู
     
    GUI เป็นอินเตอร์เฟซด้วยกราฟฟิกของผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บบราวเซอร์คำนี้เกิดขึ้น เนื่องจากอินเตอร์เฟซกับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรกไม่ได้ใช้กราฟฟิกแต่เป็นการใช้ตัวอักษรและแป้นพิมพ์ปกติจะเป็นคำสั่งที่จำได้ เช่น ระบบปฏิบัตการ DOS ในขั้นกลางกลารอินเตอร์เฟซของผู้ใช้เนการอ่านอินเตอร์เฟซแบบเมนู (Menu-based Interface) ซึ่งยอมให้ใช้เมาส์คลิกคำสั่งได้ นอกจากการพิมพ์แป้นพิมพ์
     
    ระบบปฏิบัตการส่วนใหญ่จะเป็นแบบ GUI  ในส่วนโปรแกรมประยุกต์จะใช้องค์ประกอบของ GUI ที่มากับระบบปฏิ่บัติการและเพ่มการอินเอตร์เฟซของตัวเองเข้าไป บางครั้ง GUI ใช้อ็อบ
    เจคมากกว่าหนึ่งในการทำงานจริง เช่น ในเครื่องตั้งโต๊ะ การมองผ่าน Windows จะพบส่วนประกอบของ GUI ได้รวมถึง Windows เมนูแบบ Pull down, ป่ม,แถบเลื่อน, ไอคอน, เมาส์ และรวมถึงอีกหลายสิ่งที่กำลังพัฒนาการเพิ่ม
     
    ประโยชน์ขที่เห็นได้อย่างชัดเจนของ GUI
    คือการที่ผู้ใช้สามารถทำงานกับโปรแกรมได้ดโดยไม่ต้องกผ่านทางการเขียนคำสั่งทีละบรรทัดดังเช่นการเขียนโปรแกรมตาปกติ  กล่าวคือผู้ใช้เพียงแต่ปฏิบัติตามคำสั่งสำเร็จรูปที่ทางผู้ออกแบบได้จัดหามาให้และทำรใช้งานได้ทันที
     
    ดังนั้นจึงเป็นการง่ายกว่าสำหรับผู้ใช้ทั้งในด้านการเรียนรู้และการใช้งานโปรแกรมหัวข้อถัดไปจะเป็นการบรรยายแบบพอสังเขปเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้การกาฟผ่านทาง GUIDE ซึ่งรวมถึงการ วาง(Laying Out)  องค์ประกอบ (Components) และโปรแกรมองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อให้ทำงานตอบสนองผู้ใช้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ